ในโอกาสครบรอบ 5 ปี ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ ได้วางเป้าหมายในการ “สร้างคน สู่อนาคต เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า” (Empowering Thailand’s Futuremakers) เพื่อเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคต่อไปได้อย่างมั่นคง เสริมจุดแข็งในฐานะผู้ผลิต ต่อยอดสู่ความเป็นผู้คิดค้น
สถานการณ์ปัจจุบัน
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์และวงการเทคโนโลยีในภาพใหญ่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้คลาวด์กลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานใหม่ในการทำธุรกิจทั่วโลก ทั้งยังเปิดเวทีให้เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้เข้ามามีบทบาทเชื่อมโยงโลกปัจจุบันเข้ากับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเมตาเวิร์ส, AI, ควอนตัมคอมพิวติ้ง หรือการทำงานแบบไฮบริด
ถึงเทคโนโลยีทั้ง 4 นี้จะมีความโดดเด่นในตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่ทิศทางการพัฒนาที่น่าสนใจที่สุดจะมาจากการผสมผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อนำไปปรับใช้กับปัญหาจริง เช่นการจับคู่เมตาเวิร์สกับการทำงานแบบไฮบริด หรือ AI กับควอนตัม
การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคตเหล่านี้ทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า “ทศวรรษหน้า ประเทศไทยจะต้องเดินต่อไปทางไหน?” และผลสำรวจ World Digital Competitiveness Ranking ของสถาบัน IMD จากสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อช่วงปลายปี 2021[1] ก็สะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างหลายจุดที่ยังต้องเติมเต็ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านทักษะเชิงดิจิทัล การจ้างงานในสายงานเชิงวิทยาศาสตร์และเทคนิค และการจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรม
ทั้งหมดนี้ นำไปสู่โจทย์ใหญ่ว่า
ทำอย่างไรให้ประเทศไทย ก้าวจาก “Made in Thailand” ไปสู่ “Born in Thailand”?
ตีโจทย์ใหญ่ด้วยแนวคิด “สร้างคน สู่อนาคต เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า”
นายธนวัฒน์มองว่าโจทย์ใหญ่นี้สามารถแบ่งออกได้เป็นภารกิจใน 3 ด้านหลักๆ ได้แก่
- สร้างคน – ทักษะเชิงดิจิทัล และการเรียนรู้ในทุกระดับ
- สู่อนาคต – เทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า – ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำทั้งทักษะและเทคโนโลยีมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริง
สำหรับการสร้างคน ไมโครซอฟท์ยังคงเดินหน้าเสริมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับคนไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสร้างทักษะให้คนไทย 10 ล้านคน ภายในปี 2024 โดยมีกิจกรรมและโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องมากมาย เช่น
- โครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการจ้างงาน (Accelerating Thailand) ที่ก้าวเข้าสู่เฟสสองด้วยเป้าหมายในการยกระดับทักษะให้คนไทย 180,000 คน หลังจากที่ในรอบปีที่ผ่านมา ได้พัฒนาทักษะไปกว่า 280,000 คนในเฟสแรก ช่วยให้ 14,000 คนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น 4,500 คนมีโอกาสเติบโตในสายอาชีพ 4,500 คนมีรายได้เพิ่มขึ้น และ 1,900 คนได้ประกอบอาชีพใหม่
- Microsoft Cloud Squad การรวมตัวของผู้สนใจและคนทำงานในสายเทคโนโลยี ทั้ง Cloud, Data, AI, Security และด้านอื่นๆ ให้มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญกัน พร้อมด้วยคอร์สฝึกสอน Fundamentals Training ที่ปูพื้นฐานความรู้ในด้านเหล่านี้ให้แน่น โดยมีผู้ได้ร่วมเรียนรู้ไปกับไมโครซอฟท์แล้วเกินกว่า 20,000 ราย
- Microsoft Founders Program โครงการที่มุ่งต่อยอดศักยภาพของสตาร์ทอัพไทย มอบความเชี่ยวชาญระดับโลกและทรัพยากรสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ พร้อมโอกาสในการทำตลาดร่วมกัน
- เร็วๆ นี้กับ Microsoft LearningVerse พื้นที่แห่งการเรียนรู้ในโลกดิจิทัล ที่รวมทุกแหล่งความรู้และผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายของไมโครซอฟท์มาไว้ในที่เดียว
สำหรับด้านเทคโนโลยีสู่อนาคต ไมโครซอฟท์ก็พร้อมนำเสนอเทคโนโลยีในหลากหลายด้านที่ตอบสนองความต้องการด้านนวัตกรรมของธุรกิจในยุคนี้ ไม่ว่าจะเป็น
- การปรับ Hybrid Work ให้เวิร์ก (Making Hybrid Work work) เมื่อการทำงานแบบไฮบริดทำให้พนักงานห่างเหินกันมากขึ้น ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการสื่อสารระหว่างกัน ขณะที่จังหวะชีวิตก็เปลี่ยนไปด้วยปริมาณงานที่มากขึ้นสำหรับหลายคน จนกระทั่งเสีย work-life balance ไป
- Microsoft Viva ยกระดับประสบการณ์ในองค์กร ให้ทุกคนทำงานได้ดีที่สุด เข้าถึงทรัพยากรและข้อมูลภายในองค์กรได้ครบมือและคล่องตัว เข้าใจในพฤติกรรมการทำงานของตัวเองมากกว่าที่เคย และนำความรู้ความเข้าใจทั้งหมดนี้มาสอดแทรกไว้ในชีวิตการทำงานแต่ละวันอย่างลงตัว
- Viva Connections ช่วยให้ข้อมูลและการสื่อสารจากองค์กร จากผู้บริหาร ถ่ายทอดไปถึงพนักงานมากขึ้น และพนักงานเองก็จะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือเป็นประโยชน์กับตัวเองอย่างแม่นยำมากขึ้น
- Viva Insights ช่วยให้เข้าใจความรู้สึก พฤติกรรม ของพนักงานลึกซึ้งขึ้นกว่าการจัดทำแบบสำรวจรายปี เป็นหัวใจสำคัญของการสร้าง “data-driven HR” และช่วยสะท้อนให้เห็นสัญญาณต่างๆ ในที่ทำงาน เช่น อาจมีบางประชุมที่ข้อมูลชี้ว่ามีคนมากเกินไป นานเกินไป หรือได้เห็นว่าพนักงานบางทีมคุยกันหลังเลิกงานถี่มาก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่างานล้นมือ เป็นต้น
- Viva Topics ช่วยให้พนักงานเข้าถึงทรัพยากรขององค์กรได้มากขึ้น ทั้งคน เอกสาร ข่าวสารต่างๆ
- Viva Learning เป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงแหล่งความรู้หลายๆ แหล่งขององค์กรไว้ด้วยกัน ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
- Microsoft Viva ยกระดับประสบการณ์ในองค์กร ให้ทุกคนทำงานได้ดีที่สุด เข้าถึงทรัพยากรและข้อมูลภายในองค์กรได้ครบมือและคล่องตัว เข้าใจในพฤติกรรมการทำงานของตัวเองมากกว่าที่เคย และนำความรู้ความเข้าใจทั้งหมดนี้มาสอดแทรกไว้ในชีวิตการทำงานแต่ละวันอย่างลงตัว
- พร้อมด้วยโซลูชันใหม่ล่าสุด Viva Goals ที่เพิ่งเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม สำหรับการวางเป้าหมายและติดตามผลในองค์กร ตามแนวคิดแบบ OKR (Objective and Key Results)
- สร้างสรรค์นวัตกรรมได้ทุกคน ทุกหนแห่ง (Innovate anywhere) กับนวัตกรรมมากมายบนคลาวด์ Microsoft Azure ไม่ว่าจะเป็น
- การสร้างแอปพลิเคชันแบบ low-code ที่ไม่เพียงแค่เพิ่มทางเลือกในการแก้ปัญหาให้กับพนักงานเท่านั้น แต่ยังเสริมความพึงพอใจกับงานที่ทำ และเปิดใจให้พนักงานคว้าโอกาสการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ มากขึ้น
- Power Apps express design แค่วาดรูปได้ก็ดีไซน์แอปได้ ด้วย AI ที่สร้างหน้าตาของแอปขึ้นมาจากภาพที่เห็นโดยอัตโนมัติ พร้อมให้นำไปพัฒนาต่อ
- Power Pages น้องใหม่ในตระกูล Power Platform ช่วยให้สร้างเว็บไซต์และบริการออนไลน์ผ่านหน้าเว็บที่พร้อมใช้งานในเวลาอันสั้น
- GitHub Copilot AI ผู้ช่วยเขียนโค้ดสำหรับนักพัฒนา ช่วยวางพื้นฐานให้แอป ปลดปล่อยเวลาให้โฟกัสกับโจทย์ที่ซับซ้อนและจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของผู้พัฒนา
- ในปี 2021 ไมโครซอฟท์ได้เปิดตัวบริการใหม่ๆ บน Azure ถึง 1,100 บริการ หรือคิดเป็นวันละ 3 บริการ เพื่อให้นักพัฒนามีเครื่องมือพร้อมสรรพ นำไปประยุกต์ใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์
- เร็วๆ นี้ เตรียมยกระดับประสิทธิภาพและความปลอดภัยบนคลาวด์ด้วย Azure Arc กับการนำบริการต่างๆ ของ Azure มาใช้งานบน data center ในประเทศหรือในองค์กร
- ปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากโลกควอนตัม ด้วยAzure Quantum ที่เปิดให้ทุกคนเข้าถึงเทคโนโลยีควอนตัม คอมพิวติ้งได้ โดยไม่ต้องลงทุนกับฮาร์ดแวร์เฉพาะทาง
- ปลอดภัยกว่าด้วย Azure Confidential Computing ระบบปกป้องข้อมูลที่รักษาความเป็นส่วนตัวในทุกขั้นตอน แม้ขณะต้องแชร์ข้อมูลชิ้นนั้นเพื่อการใช้งาน
- ในด้านความปลอดภัย (Secure your future) ไมโครซอฟท์ยังคงพัฒนาศักยภาพในด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เท่าทันภัยร้ายในโลกดิจิทัล และรักษาไว้ซึ่งแนวคิด Zero Trust
- ข้อมูลล่าสุดเผยว่าในรอบ 30 วันให้หลัง ยังมีดีไวซ์ในไทยถึง 1,249,442 เครื่องที่ตรวจพบมัลแวร์
- ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์เป็นผู้นำระดับโลกด้านความปลอดภัยที่ปกป้ององค์กรถึง 785,000 รายใน 120 ประเทศ วิเคราะห์สัญญาณอันตรายในโลกดิจิทัลถึง 24 ล้านล้านรายการต่อวัน และบล็อกภัยร้ายที่แพร่กระจายทางอีเมลได้ถึง 32,000 ล้านครั้งในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เรายังติดตามความเสี่ยงจากกลุ่มอาชญากรไซเบอร์และผู้ประสงค์ร้ายที่สนับสนุนโดยภาครัฐของบางประเทศอีกด้วย
- โซลูชันด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่ม “Leader” ของรายงาน Gartner Magic Quadrant ใน 4 สาขาใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- Access Management – Azure AD / Microsoft Entra
- Unified Endpoint Management – Endpoint Manager
- Endpoint Protection Platform – Microsoft 365 Defender
- Enterprise Information Archiving – Microsoft 365
- โซลูชันด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์ ได้รับเลือกให้อยู่ในกลุ่ม “Leader” ของรายงาน Gartner Magic Quadrant ใน 4 สาขาใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วนเพื่อสร้างประเทศไทยที่ดีกว่า มีไฮไลท์ที่น่าสนใจดังนี้
- เอไอเอส
ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมทั้งการสร้างสรรค์ดิจิทัลโซลูชันร่วมกัน การสร้างทักษะระดับ deep tech ให้กับพนักงานของเอไอเอส ไปจนถึงการร่วมกันสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย ผ่านโครงการ AIS x Microsoft for Startups โดยเอไอเอสเองได้รับเลือกให้เป็นเจ้าของรางวัล Partner of the Year ของไมโครซอฟท์ ประเทศไทยในปีนี้
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ร่วมกันศึกษาและสำรวจแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน ทั้งการจัดการพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) การจัดเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System) และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Grid Modernization) ไปจนถึงการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage)
- ปตท.
ความร่วมมือ 5 ปีเต็ม เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีและยกระดับทักษะบุคลากร ตามเป้าหมาย PTT – Powering Thailand’s Transformation
- ธนาคารกสิกรไทย
เทคโนโลยีไมโครซอฟท์ร่วมต่อยอดความสำเร็จของ K PLUS เตรียมขยายฐานผู้ใช้ออกสู่ระดับภูมิภาค พร้อมนำเสนอบริการแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Offering) ผ่านการประมวลผลโดย AI และ Machine Learning
- ธนาคารไทยพาณิชย์
เร่งขับเคลื่อนกระบวนการ digital transformation ของธนาคาร พร้อมจับมือ SCB Academy เสริมทักษะด้าน AI ให้กับบุคลากร
- เอสซีจี
ความร่วมมือ 5 ปีภายใต้แนวคิด “สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่อนาคต” (Building New Frontiers of Innovation) ที่มุ่งเสริมศักยภาพในด้านการเข้าใจและตอบโจทย์ของผู้บริโภค ความฉับไวในการส่งมอบสินค้าและบริหารจัดการระบบการผลิต และการคาดการณ์เทรนด์ใหม่ๆ พร้อมตอบสนองความต้องการด้วยนวัตกรรมเพื่อยุคหน้า - บ้านปู เน็กซ์
ดึงคลาวด์ Azure สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมพลังงานฉลาด ช่วยให้มองเห็นและเข้าใจการใช้พลังงานอย่างทั่วถึง
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เพื่อร่วมกันปฏิรูปแนวทางเชิงนโยบายและกรอบข้อบังคับต่างๆ ภายใต้จุดมุ่งหมายเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว รองรับการปรับตัวและแข่งขันบนเวทีโลก โดยครอบคลุมทั้งการปฏิรูประบบงานภายในสำนักงานฯ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ควบคู่ไปกับการพัฒนาคลังความรู้ด้านกฎหมายที่พร้อมสนับสนุนการร่างนโยบายโดยมีข้อมูลเป็นพื้นฐาน และการให้คำปรึกษากับหน่วยงานภาครัฐในด้านการวางกรอบกฎหมายและข้อบังคับที่ถูกต้องเหมาะสม
นอกจากตัวอย่างความร่วมมือข้างต้นแล้ว ไมโครซอฟท์ยังได้นำโซลูชัน Cloud for Sustainability มาเริ่มปรับใช้กับหลายองค์กรในประเทศไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมกันเดินหน้าสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ภายในปี 2050 และก้าวสู่สถานะ Net Zero เต็มตัวในปี 2065
[1] IMD World Digital Competitiveness Ranking, 29 September 2021 – ข้อมูลคนละชุดกับรายงาน IMD World Competitiveness Ranking 2022 ที่เป็นการประเมินในภาพรวมและเผยแพร่ออกไปเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา