ชาวเอเชียในมุมมองของชาวตะวันตก จากผู้เชี่ยวชาญความหลากหลายระดับนานาชาติ

Must read

ชาวเอเชียในมุมมองของชาวตะวันตก จากผู้เชี่ยวชาญความหลากหลายระดับนานาชาติ

ผู้เขียน : ดร.สตีเฟน เอ็ม. ไวท์เฮด

ดร.สตีเฟน เอ็ม. ไวท์เฮด
ดร.สตีเฟน เอ็ม. ไวท์เฮด

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นอ่าน ขอเตือนว่า: มันจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเขียนบทความนี้โดยไม่ในลักษณะการเหมารวม แต่อย่างไรก็ตาม เรามาทำความเข้าใจว่า ผมจะพยายามเขียนแบบเหมารวมของทั้งเอเชียและตะวันตกให้ออกมาดูแฟร์มากที่สุด!

ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันว่า ‘คนเอเชีย’ ที่ชาวสตะวันตกอย่างผมหมายถึงคืออะไร? สำหรับชาวตะวันตก หัวใจของเอเชียน่าจะเป็นกรุงเทพฯได้เลยทีเดียว กล่าวอีกนัยหนึ่ง คำว่า ‘เอเชีย’ จะเป็นคำเสกสรรภาพลักษณ์เฉพาะทางจิตใจ ไม่ใช่ความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เราเห็นในแผนที่โลก และในขณะที่ผมกำลังพูดถึง ‘ชาวตะวันตก’ พวกผมหมายถึงอะไร? เราไม่ได้หมายถึงใครก็ตามที่เกิดทางตะวันตกของพม่า ชาวตะวันตกส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกาเหนือ ออสเตรเลเซียน และชาวยุโรป

กล่าวกันว่ามนุษย์แต่ละคนมีออร่า (แสงหรือสีที่โดดเด่นซึ่งสะท้อนถึงตัวตนภายในของตนเอง) ประเทศไทยมีออร่า-สีส้มสดใส ที่จริงแล้วทั่วทั้งเอเชียก็มีสีสันที่สวยงามมากในสายตาของพวกเรา และเป็นสีสันที่ชาวตะวันตกเมื่อครั้งแรกมองเห็นจะรู้สึกได้เมื่อพวกเราได้ก้าวย่างลงจากเครื่องบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ไม่ว่าหลังจากเที่ยวบิน 20 ชั่วโมง จากต้นทางอย่างเมืองออสโลหรือเบอร์ลินที่มืดมน และพวกเรายังจะต้องเผชิญกับอาการเครื่องบินเจ็ตแล็กมากเพียงใดก็ตาม ชาวตะวันตกอย่างเราจะรู้สึกหัวใจพองขึ้นมาทันทีเมื่อมาถึงเมืองที่น่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้ (อย่างน้อยก็ครั้งที่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและนั่งแท็กซี่ไปโรงแรม! มันเป็นภาพบ้านเมืองที่เต็มไปด้วยสีสันแบบที่เราไม่เคยรู้สึกมาก่อน)

การเดินทางมาประเทศไทยครั้งแรกของผม คือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผมมาอย่างไม่เต็มใจสักเท่าไหร่ ผมมาเพียงเพราะต้องพาลูกชายคนโตเดินทางมาทำธุรกิจในเอเชียเป็นประจำ ตอนที่เราวางแผนการเดินทาง ลูกชายถามผมว่าอยากไปสถานที่ไหนในเอเชีย ผมเลยลิสต์รายชื่อประเทศสามอันดับแรกที่อยากไปมาโดยตลอดแต่ไม่มีโอกาสเลย เช่น ฮ่องกง กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์ (ผมเคยไปบาหลีเมื่อสิบปีก่อน) ประเทศไทยไม่ได้อยู่ในรายชื่อด้วยซ้ำ ทำไม?  เพราะผมแค่จินตนาการว่ากรุงเทพ น่าจะอึกทึกครึกโครมและค่อนข้างซอมซ่อ สีสันเกินไปหน่อยสำหรับคนอายุ 52 ปีในช่วงเวลานั้น แต่โชคดีสำหรับผม กรุงเทพถูกเพิ่มเข้าไปในแผนการเดินทางของพวกเราในนาทีสุดท้าย เพราะลูกชายของผมบังเอิญจะต้องมีการประชุมทางธุรกิจกับลูกค้าชาวไทยของเขา น่าสังเกตว่าตอนนั้นเขาน่าหลงรักประเทศไทยไปแล้ว

ส่วนผมเดาว่าผมก็คงเริ่มตกหลุมรักประเทศไทยตั้งแต่วินาทีแรกที่มาถึงสนามบินดอนเมืองในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 และความรักนั้นไม่เคยทิ้งผมไป ผมยังคงรู้สึกถึงมันตลอดสองทศวรรษต่อมา และผมย้ายมาอาศัยอยู่ที่เชียงใหม่อย่างถาวรตั้งแต่ปี 2552

แล้ว HK, KL และสิงคโปร์ล่ะ? ใช่ ผมพบว่ามันน่าสนใจ ค่อนข้างแปลกใหม่และมีชีวิตชีวาอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่มีทางที่เอาเมืองเหล่านี้มาเปรียบเทียบหรือจะมาใกล้เคียงกับกรุงเทพฯได้เลย ผมได้เคยไปมาเกือบทุกประเทศในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในบางครั้งผมก็จำเป็นต้องอยู่ในแต่ละประเทศในระยะยาว และถึงแม้ประเทศเหล่านี้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีคุณสมบัติเฉพาะตัว แต่ก็ไม่มีใครเทียบได้กับประเทศไทยได้เลย

ตั้งแต่การเดินทางครั้งแรกกับลูกชายคนโต ผมก็หลงรักประเทศไทยอย่างถอนตัวไม่ขึ้น แต่พูดตามตรง ผมได้พบกับพรรคพวกชาวตะวันตกจำนวนมากที่หลงรักประเทศต่างๆ ในเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น เวียดนาม กัมพูชา ไต้หวัน ฮ่องกง และจีนในลักษณะเดียวกัน

แล้วเพราะอะไรในเอเชียล่ะ ที่ทำให้ชาวตะวันตกจำนวนมากหลงรักขนาดนี้?

คำตอบ: พวกเขากำลังตกหลุมรักในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้เป็น และในสิ่งที่พวกเขาไม่มี และถ้าจะให้พูดตามตรง มันเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่เข้าใจอย่างแน่นอน

เคยมีการกล่าวไว้ว่า การแต่งงานที่ดีที่สุดเกิดขึ้นระหว่างสิ่งที่เป็นขั้วตรงกันข้าม เหมือน “หยินและหยาง” รวมกันเพื่อสร้างสิ่งต่างๆทั้งหมด และนี่ก็เป็นเรื่องจริงกับชาวต่างชาติเช่นกัน ฉันมีความสุขหลายวันในอัมสเตอร์ดัม ดับลิน โทรอนโต และมาดริด แต่ไม่มีวันที่ผมจะย้ายบ้านไปอาศัยอยู่ในเมืองเหล่านั้น เมืองเหล่านี้ไม่แตกต่างจากสหราชอาณาจักรบ้านเกิดของฉันไปมากเท่าไหร่นัก

ผมจำการมาเยือนประเทศไทยครั้งแรกของลูกสาววัย 23 ปีได้เมื่อปี 2559 เธอมาถึงในฐานะนักเดินทางคนเดียวที่มีประสบการณ์ โดยได้ไปเยือนเกือบทุกทวีปแล้ว เธอเป็นนักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดที่มีความมั่นใจในตนเอง เธอไม่ใช่ผู้หญิงที่จะได้รับอิทธิพลจากรีวิวบน Tripadvisor ได้ง่ายๆ แต่เกือบโดยในทันทีเธอก็ตกหลุมรักประเทศนี้เช่นกัน

“ว้าว คุณพ่อ นี่มันสุดยอดจริงๆ” พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าขณะที่เธอกับฉันกำลังดื่มค็อกเทลที่สกายบาร์หรูหราของโรงแรมสุขุมวิท ซึ่งเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของเมืองที่ส่องสว่างด้วยแสงไฟนีออน

ส่วนลูกชายคนที่สองของผมมาถึงไต้หวันในฐานะนักเรียนอายุ 18 ปีในปี 2555 เขาไม่เคยจากไปไหนอีกเลย จนในทศวรรษต่อมา เขาเรียนภาษาจีนกลางที่ Taiwan National Normal University และมีความชำนาญในภาษาจีนเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลในไทเป จิตวิญญาณในตัวเขา ได้หลอมตัวรวมเข้ากับเอเชียมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับชาวตะวันตก ปีหน้าจะย้ายมาเมืองไทย เขาจะไม่มีทางกลับไปใช้ชีวิตในสหราชอาณาจักรอีกต่อไป

ชาวตะวันตกมองว่าชาวเอเชียมีความสุภาพ สงวนท่าที เป็นคนรักบ้านเกิด ให้ความเกียรติผู้อื่น และให้ความสำคัญกับครอบครัว พวกเขาจึงรู้สึกปลอดภัยในเอเชีย และรู้สึกเป็นอิสระในเอเชีย

แน่นอนว่าอิสรภาพนั้นอาจเป็นอันตรายได้ (หากประมาทในชีวิต) ชาวตะวันตกจำนวนมาก ที่ชื่นชอบอิสระในการขี่สกู๊ตเตอร์ในภูเก็ตหรือปีนน้ำตกในกาญจนบุรี แต่ต้องจบลงที่โรงพยาบาลหรือห้องดับจิต

ชาวตะวันตกชอบรอยยิ้มแบบไทย แต่ตีความท่าทางที่น่าดึงดูดของไทยอย่างไร้เดียงสาว่าเป็นการยอมทำตามและชอบเมินเฉยต่อสิ่งต่างๆ

ชาวตะวันตกบางคนอาจจะเดินทางมายังเอเชีย แล้วจะรู้สึกเหนือกว่าเล็กน้อย หากพวกเขาไม่ใจกว้าง – เพราะคิดว่าตัวเองมีการศึกษาดีกว่า หรือร่ำรวยกว่า และทำไมไม่? เพราะเขาคิดว่าประเทศตะวันตกของตัวเองนั้น มีมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด มีประชาธิปไตยที่มั่นคงที่สุด และมีอิทธิพลทางวัตถุและวัฒนธรรมมากมาย

อย่างไรก็ตาม ชาวตะวันตกกลุ่มเดียวกันนี้จะได้เรียนรู้หลังจากได้รู้ว่า หนังสือเดินทางที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบันคือชาวสิงคโปร์ ในปัจจุบันวัยรุ่นเอเชียชอบวัฒนธรรมเกาหลีใต้มากกว่าวัฒนธรรมตะวันตก มีมหาเศรษฐีในเซินเจิ้นมากกว่าในลอนดอนถึงสองเท่า กรุงเทพฯ มีโรงพยาบาลระดับโลกและโรงแรมระดับโลก และมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรหลายแห่งกำลังจะล้มละลายหากไม่มีนักศึกษาชาวเอเชียเข้าไปเรียน

อีกไม่นาน ความรู้สึกที่เหนือกว่าใดๆ ก็ตามจะเริ่มลดลง โดยจะแทนที่ด้วยความเคารพต่อวัฒนธรรมเอเชีย รวมถึงจิตวิญญาณของเอเชีย ความยืดหยุ่นของเอเชีย ภูมิปัญญาของเอเชีย ประวัติศาสตร์เอเชีย และความภาคภูมิใจในความเป็นคนเอเชีย

แน่นอนว่าชาวตะวันตกบางคนจะเดินทางมาถึงเอเชียเพื่อพยายามกำหนดคุณค่าแบบตะวันตก แต่พวกเขาจะได้รับการปฏิบัติอย่างอ่อนโยนและเพิกเฉยอย่างเงียบๆ เอเชียอาจจะเป็นโลกยุคใหม่แต่ก็ยังคงเป็นเอเชีย

สำหรับชาวตะวันตกจำนวนนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่กำลังมองหาสถานที่เกษียณอายุ ไม่มีที่ไหนที่จะดีไปกว่าการเพลิดเพลินไปกับสภาพอากาศ (อบอุ่นทั้งปี) อาหารรสเลิศ ทิวทัศน์อันน่าทึ่ง การต้อนรับอย่างแท้จริง ความสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณที่ลึกซึ้ง และการดูแลสุขภาพที่ดีที่สุด (แต่อย่าเพิ่งไปยุ่งหรือพูดเกี่ยวกับการเมืองเอเชีย) กล่าวโดยสรุป ไม่ว่าชาวตะวันตกจะมีทัศนคติแบบเหมารวมเกี่ยวกับเอเชียอย่างไร ภูมิภาคที่ร่ำรวย มีพลัง และพัฒนาอย่างรวดเร็วแห่งนี้จะทำให้พวกเขามันงง แต่เป็นการมันงงเพื่อที่พวกเขาจะตกหลุมรักความแตกต่างเหล่านี้

เอเชียมีออร่าที่งามสะพรั่งซึ่งทำให้ตาพร่าไปเลยทีเดียว หรือไม่ก็ทำให้ชาวตะวันตกทั่วไปตาบอดไปเลย ชาวต่างชาติเช่นผมและลูก ๆ ของผมที่มาที่นี่มากกว่าสองสัปดาห์ในช่วงวันหยุด จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่น่าตื่นเต้นอย่างแน่นอน

พวกเขาจะมีการตั้งค่านิยมและตั้งสมมติฐานแบบตะวันตกในแบบสุดโต่งในบางครั้ง และเมื่อพวกเขาได้ผ่านการทดสอบจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ความคิดและมุมมองของพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงไป และมากไปกว่านั้น เพราะคนเรานั้นเมื่อประสบกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากพวกเขาจะได้เรียนรู้มากขึ้น ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับสิ่งต่างๆรอบตัว แต่ยังได้ทำการเรียนรุ้เกี่ยวกับตัวเองมากขึ้นอีกด้วย

- Advertisement -

More articles

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Magazines

66,596FansLike
4,597FollowersFollow
191FollowersFollow
4FollowersFollow
1FollowersFollow
50FollowersFollow
87SubscribersSubscribe
- Advertisement -

Latest article