ในสนามธุรกิจ บางครั้งเราก็เลือกไม่ได้ที่อาจต้องเผชิญกับคู่แข่งรายใหญ่ที่เหนือกว่าทุกด้าน ซึ่งการจะเอาตัวรอดหรือเติบโตต่อไปในอนาคต จึงต้องมีการวางแผนในการเลี่ยงปะทะโดยตรงกับจุดแข็งของคู่แข่งโดยหันไปโจมตีปัจจัยสนับสนุนที่อาจเป็นจุดอ่อนอยู่เบื้องหลังตามกลยุทธ์ “ถอนฟืนใต้กะทะ” แทน
"ดุจฟ้าอยู่เหนือน้ำ" "น้ำ" หมายถึงความแข็งแกร่ง ส่วน"ฟ้า" หมายถึงความอ่อนแอ เมื่อรวมกันแล้ว หมายความถึงความอ่อนชนะความแข็ง คือการพึงใช้วิธีอ่อนพิชิตแข็ง ฉกฉวยจังหวะและโอกาสในการทำลายกองทัพส่วนหนึ่งของศัตรูให้แตกพ่ายย่อยยับในภายหลัง นี่คือหลักใหญ่ใจความของกลยุทธ์ถอนฟืนใต้กะทะ หรือ ฝูตี่โชวซิน อันเป็นกลยุทธ์ที่ 19 จาก 36 กลยุทธ์ ในคัมภีร์พิชัยสงครามจีนของปราชญ์ซุนวู ที่ได้สรุปบทเรียนทั้งเล่ห์เหลี่ยมและการพลิกแพลงในสนามรบเมื่อกว่า 3,000 ปี แต่ยังสามารถนำมาปรับใช้กับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบันได้อย่างแนบเนียน
ทั้งนี้ หากจะสู้กับความร้อนแรงของกะทะที่กำลังคุโชน ยากจะเข้าไปปะทะ ก็ต้องรู้ว่า อะไรที่ทำให้ของเหลวในกะทะเดือด เมื่อมองลงไปก็พบว่ามันคือ ฟืนท่อนใหญ่ๆ ที่สุมรวมกันอยู่นั่นเอง แล้วการจะหยุดความร้อนแรงของกะทะที่กำลังเดือด ก็ต้องมุ่งโจมตีฟืนที่เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญด้วยการถอนฟืนใต้กะทะออกเพื่อทำให้ความพลุ่งหล่านค่อยๆ ลดลง แต่ในทางธุรกิจล่ะ อะไรคือความร้อนของกะทะ...