ระบบอัตโนมัติในโรงงานเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยม และได้มีการนำมาใช้งานในกระบวนการผลิตสินค้าต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากระบบอัตโนมัตินั้น ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้มีความสามารถในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความเร็วในการผลิตได้เป็นอย่างดี จึงช่วยลดการใช้งานแรงงานจากทรัพยากรมนุษย์ในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดจาก Human Error และอันตรายที่เกิดได้จากไลน์การผลิต ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเล่าถึงที่มาของระบบอัตโนมัติในโรงงานและประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมกัน
หลักการทำงานของระบบอัตโนมัติในโรงงาน
Manufacturing Automation หรือ ระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม คือ การใช้เทคโนโลยี เช่น อุปกรณ์ เครื่องจักร และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานของมนุษย์ ด้วยการทำให้ระบบหรือกระบวนการผลิตเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวมทั้งสามารถตั้งโปรแกรมให้เหมาะสมกับกระบวนการผลิตได้หลายประเภท
สำหรับการทำงานของระบบอัตโนมัติในโรงงานจะมีอยู่ด้วยกันหลายขั้นตอน โดยจะมีเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ถูกนำเข้ามา เพื่อให้มีส่วนร่วมในการควบคุมการทำงานระหว่างเครื่องจักรและทรัพยากรณ์มนุษย์ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
- ระบบควบคุมโลจิสติกส์ (Logistics Control Systems)
ระบบนี้ใช้เทคโนโลยีการจัดการและควบคุมการขนย้ายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ โดยระบบจะมีการติดตามการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของการผลิตและขนย้ายสินค้า
- หุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robots)
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในโรงงาน การทำงานของหุ่นยนต อุตสาหกรรมจะเกี่ยวข้องกับการยกของ การประกอบส่วนของผลิตภัณฑ์ และการทำงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต
- ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing Systems)
ระบบนี้จะถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมกระบวนการผลิต โดยจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและการทำงานต่าง ๆ ในโรงงาน ระบบจะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ระบบอัตโนมัติในโรงงานที่ใช้สำหรับกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม ถือเป็นการปฏิวัติทางเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อช่วยขับเคลื่อนกระบวนการทำงานและการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติ เพิ่มให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยไม่ได้เป็นเพียงแค่การใช้หุ่นยนต์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการนำปัญญาประดิษฐ์ Machine Learning หรือแม้แต่ Industrial Internet Of Things (IIoT) เข้ามาใช้ทำงานร่วมกันด้วย