โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้
เปิด 12 แผนงานในระยะนำร่อง 14 กม. และออกแบบเบื้องต้น โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เน้นอนุรักษ์-สืบสาน-สร้างสรรค์
รศ.ดร. สกุล ห่อวโนทยาน ผู้จัดการ โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้ าพระยา กล่าวว่า ความคืบหน้าโครงการพัฒนาริมฝั่ งแม่น้ำเจ้าพระยา (Chao Phraya for All) ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่ภูมิทั ศน์บนฐานมรดกวัฒนธรรม และเชื่อมต่อมรดกวัฒนธรรมและพื้ นที่เหล่านั้นด้วยทางเดินริมเจ้ าพระยาซึ่งบางส่วนเลียบน้ำ บางส่วนวกเข้าพื้นดินแล้วแต่ ความเหมาะสม โดยกระทรวงมหาดไทยและกรุ งเทพมหานคร มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาพื้นที่ ริมฝั่งและให้กับประชาชนทุกระดั บสามารถเข้าถึงแม่น้ำเจ้ าพระยาได้อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมุ่งเน้นด้วยกระบวนการมีส่ วนร่วมและพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น การดำเนินงานทุกด้านของโครงการ 4 เดือนเศษ ตั้งแต่มีนาคมถึงปัจจุบัน เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ ในด้านการมีส่วนร่วมโครงการพั ฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ลงพื้นที่ 33 ชุมชน โดยได้ร่วมมือกับกรมศิลปากร และมหาวิทยาลัยศิลปากรในการศึ กษาแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ สองฟากฝั่งอันเป็นมรดกวั ฒนธรรมสำคัญของประเทศ เพื่อทำให้เข้าใจคุณค่ าและนำไปสู่การอนุรักษ์ สืบสานมรดกวัฒนธรรม และสอดคล้องกับแนวทางมรดกโลก ส่วนด้านการออกแบบได้จัดทำร่ างแนวคิดผังแม่บท ระยะทาง 57 กม. และระยะนำร่อง 14 กม. ซึ่งในวันนี้จะได้ชี้แจงถึง 12 แผน และแบบเบื้องต้น ทั้งนี้ในปลายเดือนกันยายน 2559 เราจะส่งมอบงานสำรวจวิจั ยและออกแบบได้ทั้งหมด เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาพื้ นที่บนฐานมรดกวัฒนธรรม โดยสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมและ Eco-Based Designเพิ่มธรรมชาติสีเขียว สำหรับการออกแบบในพื้นที่ชุ มชนหลายแห่งจะทยอยแล้วเสร็จตั้ งแต่เดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน 2559 โดยประสานกับฝ่ายวิศวกรรม ด้านชลศาสตร์ได้ศึกษาระดับน้ำ และผลกระทบตามแบบจำลองต่างๆ รวมทั้งเตรียมการศึกษาผลกระทบด้ านสิ่งแวดล้อมด้วย ในส่วนของทางเดินมีความกว้าง 7-10 เมตร และระดับความสูงของพื้นผิ วทางเดินจะอยู่ต่ำกว่าสันเขื่ อนเฉลี่ย 1.30 เมตร
ผศ.ดร.อันธิกา สวัสดิ์ศรี รองผู้จัดการและโฆษก โครงการพัฒนาริมฝั่งแม่น้ำเจ้ าพระยา กล่าวว่า สำหรับผังแม่บทระยะนำร่อง 14 กม. จากสะพานพระราม 7 ถึงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ประกอบด้วย 12 แผนย่อย ได้แก่
แผนงานที่ 1 : โครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชน (Community Conservation and Development Areas) การพัฒนาพื้นที่ชุ มชนตามกระบวนการการมีส่วนร่วมกั บชุมชน โดยฟื้นฟูและอนุรักษ์ วัฒนธรรมและสืบสานวิถีชีวิ ตของชุมชนที่มีมาในอดีตให้เป็ นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว
แผนงานที่ 2 :งานพัฒนาจุดหมายตาริมฝั่งแม่น้ำ เจ้าพระยา (River Landmark) เพื่อเป็นสถาปัตยกรรมกรุงรั ตนโกสินทร์ในปัจจุบัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพมหานคร, สวนเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 7, พิพิธภัณฑ์มรดกเจ้าพระยา, ศูนย์ศิลปะการแสดงแห่งชาติและพิ พิธภัณฑ์โรงเรือพระราชพิธี นอกจากนี้ในพื้นที่ที่จะดำเนิ นการยังให้ความสำคัญเป็นพิเศษกั บพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม และเขตพระราชฐานเป็นพิเศษ
แผนงานที่ 3: การพัฒนาท่าเรือ (Piers) ให้เป็นจุดเชื่อมต่อการสั ญจรทางน้ำที่ประชาชนได้รั บความสะดวก ปลอดภัย และปรับปรุงรูปแบบสถาปั ตยกรรมให้มีความสอดคล้อง เป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่
แผนที่ 4: การพัฒนาเส้นทางการเข้าถึงพื้ นที่ (River Linkages)ปรับปรุงตรอกซอกซอย ทางเดิน เพื่อเชื่อมต่อและเข้าถึงพื้นที่ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่ 5: การจัดทำทางเดินริมแม่น้ำ (River Walks) เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่มรดกวั ฒนธรรมต่างๆ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเข้าด้วยกัน (Connectivity) มีทั้งทางเดินเลียบแม่น้ำ และทางเดินบนพื้นดินซึ่งมีอยู่ หลายแห่ง เช่น ตั้งแต่สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ าจนถึงคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นพื้นที่รัตนโกสินทร์ชั้ นที่ 3 และหลายส่วนของริมฝั่งธนบุรี เช่น จากสะพานพระราม 8 ถึงวัดบวรมงคล, ย่านบางอ้อถึงวัดวิมุตยาราม ทางเดินโดยทั่วไปประกอบไปด้ วยทางเดินเท้า, ทางจักรยาน, บางแห่งมีจุดชมทัศนียภาพ, สะพานข้ามคลอง, ฟื้นฟูพื้นที่ป่าชายเลนริมน้ำ และพื้นที่สีเขียว ทางเดินริมน้ำนี้ยังช่วยเชื่ อมโยงวัด โบราณสถานและโรงเรียนต่างๆ เป็นประโยชน์ต่อครอบครัว คนทำงาน เยาวชน นักเรียน ให้มีทางเลือกของการสัญจรที่ ประหยัดพลังงานและเวลา ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าวัด ใกล้ชิดศาสนาและที่พึ่งทางจิตใจ ธรรมชาติ มีวิถีชีวิตที่สงบงามยิ่งขึ้น
แผนที่ 6: การปรับปรุงภูมิทัศน์เขื่อน (Green Walls) ให้มีทัศนียภาพที่สวยงาม น่ามอง การซ่อมแซมเขื่อนที่ชำรุด ก่อสร้างส่วนที่ยังไม่ได้ดำเนิ นการให้ครบถ้วนสมบูรณ์
แผนที่ 7: พัฒนาศาลาท่าน้ำ (Sala Riverfronts) ให้เป็นจุดพักผ่อน ศาลาคอย และชมทัศนียภาพริมน้ำ ชุมชน ศาสนสถาน พื้นที่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมริ มน้ำ
แผนที่ 8: การจัดทำพื้นที่บริการสาธารณะ (Public Services) รองรับการใช้ประโยชน์สาธารณะ เช่น ศูนย์บริการความช่วยเหลือ, ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว, จุดบริการจักรยาน
แผนที่ 9:พัฒนาพื้นที่ศาสนสถาน (Religious Conservation Areas) ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน มรดกทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม การออกแบบพัฒนาภูมิทัศน์คำนึงถึ งคุณค่าและเคารพต่อศาสนสถาน ส่งเสริมให้ ประชาชนคนไทยและเยาวชนได้เข้าถึ งที่พึ่งทางจิตใจมากยิ่งขึ้น
แผนที่ 10: พื้นที่แนวคูคลองประวัติศาสตร์ (Historical Canal)โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมฝั่ งคลอง รวมทั้งการใช้ประโยชน์พื้นที่ริ มคลอง ในด้านการสัญจรและการท่องเที่ยว
แผนที่ 11: พัฒนาพื้นที่นั นทนาการและสวนสาธารณะริมน้ำ(Green Corridors) โดยใช้พื้นที่ว่างและพื้นที่ สาธารณะด้านหลังเขื่อน เพื่อเป็นพื้นที่รองรับกิ จกรรมนันทนาการ ลานกีฬา และสวนสาธารณะของประชาชน รวมทั้งการแก้ไขปัญหาน้ำขั งและเน่าเสียหลังเขื่อนด้ วยระบบท่อรวบรวมน้ำเสียเพื่อส่ งไปยังบ่อบำบัดต่อไป
แผนที่ 12: สะพานคนเดินข้าม (Pedestrian Bridge) สะพานคนเดินข้ามแม่น้ำ โดยสร้างใหม่ 2 จุด คือ จากชุมชนสะพานพิบูลฝั่งซ้าย ข้ามไปยังท่าเรือวัดฉัตรแก้ วจงกลณี ฝั่งธนบุรี, จากห้างแมคโคร สามเสน ข้ามไปยังท่าทราย จรัญฯ 84 นอกจากนี้ยังปรับปรุงทางเดินเท้ าและทางจักรยานระหว่างสองฝั่ งแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปลอดภัย โดยปรับปรุงสะพานที่มีอยู่เดิม ได้แก่ สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า, สะพานพระราม 8, สะพานกรุงธน, สะพานพระราม7, ใต้สะพานทางรถไฟสายสีน้ำเงิน, เลียบคลองบางซื่อ–คลองบางอ้อ
- Advertisement -