เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่หลายคนน่าจะเคยได้ยินชื่อเสียงกันมาบ้าง สำหรับ “แอมมิเตอร์” ตัวช่วยวัดค่าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่นักศึกษาด้านไฟฟ้าและผู้ใช้งานมือใหม่คยรลองเรียนรู้
ถามว่าทำไมต้องเรียนรู้การใช้งานแอมมิเตอร์ให้พอเข้าใจในเบื้องต้น นี่นเป็นเพราะคุณสมบัติด้านการใช้งานที่มีบทบาทมาก ๆ ในการวิเคราะห์และตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในครัวเรือน แถมยังต่อยอดนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากใครเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่เล็งเห็นความสำคัญ และจำเป็นที่จะต้องใช้งานจริง ๆ สามารถอ่านไกด์การใช้งานฉบับง่ายได้ที่บทความนี้เลย
ทำความรู้จักกับ “แอมมิเตอร์”
แอมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดความเข้มข้นทางไฟฟ้า โดยจะตรวจจับการไหลผ่านของกระแสไฟในวงจร ซึ่งก่อนที่จะเริ่มต้นใช้เครื่องมือชนิดนี้ในการวัดนั้น จะต้องทำการ “ตัดวงจร” ออกชั่วคราวทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรั่วไหลระหว่างการต่อแอมมิเตอร์เข้าไปในอนุกรม หลังจากนั้นจึงจะสามารถปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหล่ผ่านได้ตามปกติ ในระหว่างนี้เครื่องก็จะทำการประมวลผล พร้อมบอกปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรได้อย่างแม่นยำ (ในกรณีที่ใช้ถูกวิธีนะ)
คุณสมบัติน่ารู้ของแอมมิเตอร์
เครื่องวัดความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าที่ดี จะต้องเป็นเครื่อวที่ได้มาตรฐาน และมีความต้านทานน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการไหลของกระแสไฟฟ้าที่ผิดพลาด เพราะในระหว่างที่ทำการต่อแบบอนุกรม แอมมิเตอร์จะเป็นส่วหนึ่งที่ถูกนำไปเชื่อมต่อเพื่อวัดปริมาณการไหลผ่าน ดังนั้น ถ้ามีคาความต้านทานมากจนเกิดไป ก็จะทำให้ค่าความต้านทานรวมของวงจรเปลี่ยนแปลง ผลที่ได้ก็จะคลาดเคลื่อน
ในขณะเดียวกันเครื่องวัดก็ต้องมีความไวต่อปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้า เพื่อที่จะได้ทำการตรวจจับได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าวงจรดังกล่าวจะมีความเข้มข้นของกระแสไฟฟ้าน้อยก็ตาม กล่าวคือ การเลือกแอมมิเตอร์ที่ดี คุณสมบัติที่ควรพิจารณาจะต้องได้มาตรฐาน มีความต้านทานนระดับที่เหมาะสม และมีความไวในการตรวจจับนั่นเอง
ประเภทของแอมมิเตอร์
–แบบติดตั้งในวงจร เป็นชนิดที่ต้องปลดสายวงจรออกชั่วคราว เพื่อนำเครื่องมือไปต่อเข้ากันแบบอนุกรม ให้ตรวจจับกระแสการไหลของไฟฟ้าโดยตรง โดยจะมีทั้งแบบกระแสตรง (DE ammeter) ที่คำนึงถึงขั้วบวก-ขั้วลบระหว่างทำการวัด และแบบที่ใช้วัดกระแสสลับ (AC ammeter) ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงขั้วใด ๆ
–แบบคล้องสาย นิยมใช้มากที่สุด เพราะใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย เพียงแค่คล้องไปยังสายไฟที่ต้องการวัดกระแสไฟฟ้าโดยไม่ต้องปลดวงจร เพียงเท่านี้ก็สามารถอ่านค่ากระแสการไหลได้อย่างไม่น่าเชื่อ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านค่อนข้างน้อย การวัดแบบคล้องสายอาจตรวจจับได้ยาก ขอแนะนำให้ใช้วิธีดันสายไฟ และนำไปพันรอบแกนเหล็กของตัวเครื่องหลาย ๆ รอบ เพื่อที่จะได้อ่านค่าได้อย่างแม่นยำ โดยจะต้องนำตัวเลขที่ได้มาหารด้วยจำนวนรอบการพันของสายไฟ หลังจากนั้นก็จะได้ค่ากระแสไฟฟ้าที่แท้จริงนั่นเอง