แลนดี้ โฮม วิเคราะห์ภาพรวมธุรกิจรับสร้ างบ้านครึ่งปีหลังอาจเป็นหนั งคนละม้วนกับครึ่งปีแรก มั่นใจร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และอัตราดอกเบี้ยขาลง จะเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ กลุ่มเงินเย็นเริ่มหันมาลงทุนด้ านอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น เพื่อลดพื้นที่รกร้างในขณะเดี ยวกันก็สามารถเพิ่มผลกำไรด้ านอสังหาฯ
นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร ผู้อำนวยการฝ่ ายการตลาดและออกแบบผลิตภัณฑ์ บริษัท แลนดี้ โฮม (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ภาครัฐได้กำหนดนโยบายในการผลั กดันให้เศรษฐกิ จโดยรวมของประเทศเกิดความเคลื่ อนไหว เพื่อนำไปสู่การเติ บโตทางเศรษฐกิจ โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้เห็ นชอบในหลักการของร่างพระราชบั ญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งหลายฝ่ายก็ออกมาวิเคราะห์ถึ งความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้ นหลังจากที่ร่างดังกล่าวได้ ประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ในฐานะผู้ประกอบการด้านธุรกิจรั บสร้างบ้านมองว่า น่าจะเกิดผลดีต่อธุรกิจ เพราะจะทำให้ผู้ที่ถือครองที่ดิ นเปล่าที่มีศักยภาพหันมาก่อสร้ างบ้านหรือโปรเจคด้านอสังหสริ มทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ธุ รกิจรับสร้างบ้านและธุรกิจก่ อสร้างโดยรวมคึกคักยิ่งขึ้นเช่ นกัน
ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ ประโยชน์ตามสมควรจะถูกจัดเก็ บภาษีในอัตราสูงสุดไม่เกิน 5% ของราคาประเมินโดยกรมธนารักษ์ หากยังไม่มีการนำที่ดินมาใช้ ประโยชน์ให้ปรับเพิ่มอัตราภาษี อีก 1 เท่าตัว ทุกๆ 3 ปี “การผ่านร่าง พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของธุรกิ จรับสร้างบ้านเมืองไทย เพราะจะทำให้ผู้ที่มีที่ดินที่ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ต้องกลับมาวิเคราะห์ให้ลึกว่า จะบริหารจัดการกับที่ดิ นของตนเองอย่างไร ซึ่งความเป็นไปได้มี 2 ทางคือขายที่ดินหรือจะเดินหน้ าพัฒนาที่ดินดังกล่าวให้เกิดเป็ นรายได้ทดแทนการจ่ายภาษีอันเนื่ องจากทิ้งที่ดินโดยไม่ก่อให้เกิ ดประโยชน์ใดๆ ซึ่งเชื่อว่ากลุ่มผู้ที่ถื อครองที่ดินส่วนใหญ่จะเลื อกทางเลือกที่ 2 มากกว่า เพราะด้วยสถานการณ์อัตราดอกเบี้ ยที่ถูกปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระตุ้ นให้กลุ่มที่มีทุนกระโดดเข้ ามาพัฒนาโปรเจค อสังหาฯ กันมากขึ้น” นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร แสดงความเห็น
ด้านภาพรวมตลาดแรงงานอันถือเป็ นหัวใจหลักของธุรกิจรับสร้างบ้ านนั้น นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร แสดงความเห็นต่อประเด็นดังกล่ าวว่า ธุรกิจรับสร้างบ้านของเมืองไทย หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งคือ กลุ่มแรงงานฝีมือ ซึ่งปัจจุบันแม้หลายบริษั ทจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ ามาใช้เพื่อลดผลกระทบด้านแรงงาน แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมได้ทุ กขั้นตอน และยิ่งในปีนี้เกิดการพั ฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่ มขึ้นกว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จะทำให้แรงงานเป็นที่ต้ องการของตลาดมากขึ้น แต่ล่าสุดหลังจากที่รัฐบาลพม่ าได้เข้ามาส่งเสริมและพัฒนาคุ ณภาพชีวิตของชาวพม่าที่ ทำงานในไทย ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่จะช่วยลดปั ญหาการขาดแคลนแรงงานได้เช่นกัน
“การจะอยู่ในธุรกิจรับสร้างบ้ านยุคปัจจุบันได้อย่างมั่นคงนั้ น ‘การปรับตัว’ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็ นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวด้ านเทคโนโลยี ด้านการพัฒนาการออกแบบให้ เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนในแต่ ละยุค การบริหารจัดการด้านแรงงาน การให้ความสำคัญด้านบริการหลั งการขายและนวัตกรรมการก่อสร้าง ต่างเป็นกลไกที่ไม่ สามารถละเลยจุดใดได้ ส่วนตัวเชื่อว่าในอนาคตธุรกิ จรับสร้างบ้านจะแข่งกันด้วย 4 ปัจจัยดังกล่าว และตลาดจะเป็นผู้ที่คัดกรองให้ เหลือแต่ผู้เล่นตัวจริงของธุรกิ จ ซึ่งจะเป็นการยกระดับมาตรฐานธุ รกิจรับสร้างบ้านของเมื องไทยในอนาคต” นางสาวภัทรา มณีรัตนะพร กล่าวสรุป
Advertisement